วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์ต่างๆ

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์ต่างๆ


1. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศึกษาศาสตร์
การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น - ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน - ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา ปัญหาเรื่องระยะทางนอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย
2. ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์

     วิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติ  ทั้งในสภาพนิ่งหรือสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง

   เทคโนโลยี คือ กระบวนการหรือวิธีการและเครื่องมือที่เกิดจากการประยุกต์  และผสมผสานความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์เหมาะสมกับเวลาและสถานที่วิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายในการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ  โดยตั้งข้อสมมติฐาน พิสูจน์สมมติฐานด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ความรู้ หรือข้อเท็จจริงจากปรากฎการณ์นั้น  ๆ ถ้ามีการพิสูจน อีกก็ยังคงใช้ข้อเท็จจริงเหมือนเดิมเทคโนโลยีเป็นวิทยาการที่เกิดจากการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ในการแก้ปัญหา  โดยมุ่งแสวงหากระบวนการหรือวิธีการ (Know How) โดยอาศัยเครื่องมือและความรู้ต่าง ๆ ผลของกระบวนการเทคโนโลยีมี 2 ลักษณะ คือ
   1.เครื่องมือ  หรือฮาร์ดแวร์  หมายถึง  เทคโนโลยีในรูปของอุปกรณ์  เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องบำบัดน้ำเสีย  เครื่องปรับอากาศ  เครื่องบิน  เป็นต้น
   2. วิธีการหรือ เรียนกว่า ซอฟต์แวร์  หมายถึง เทคโนโลยีในรูปของวิธีการ กระบวนการ ความรู้ต่าง ๆ เช่น วิธีจัดการระบบบริหารองค์กร  วิธีประเมินผลต่าง ๆ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น


3.ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับเกษตรศาสตร์
               เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าว
หน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติคือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่าเมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้
      
4.ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับโภชนศาสตร์
โภชนศาสตร์ หรือ โภชนาการ เป็นวิชาวิทยาศาสตร์แขนง-หนึ่งที่กล่าวถึงความสำคัญของอาหารที่มีต่อสุขภาพของร่างกาย
“ ศัพท์เฉพาะทางโภชนศาสตร์ที่ควรทราบ “
1. อาหารที่กำหนดให้ (DIET) เป็นอาหารที่ได้กำหนดไว้หรือให้
รายชื่อตายตัวของอาหารนั้นแต่ละมื้อโดยมักจะกำหนดเป็นรายการอาหาร
2 .ผู้กำหนดอาหาร(Dietitian หรือ Dietecian) คือบุคลผู้ด้ำเนินงานด้านจัดปรุงอาหาร โดยยึดหลักวิชาโภชนศาสตร์ ในการจัดเตรียมอาหารบุคคลผู้นี้ต้อง คิดทำรายการอาหารเพื่อบริโภคเป็นมื้อรวมทั้งอาหารปกติและสำหรับคนป่วย
3. อาหาร (Food) คือสิ่งที่มนุษย์นำมาบริโภคได้ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายซ่อมแซมชำรุดส่วนที่สึกหรอให้พลังงานและความอบอุ่นตลอดจนช่วยในการคุ้มกันโรค
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ได้นิยามคำศัพท์คำว่า อาหาร ว่า
อาหาร คือของกินหรือของค้ำจุนชีวิต ได้แก่
วัตถุทุกชนิดที่กิน ดื่ม อม หรือนำเข้าสู่ร่างกายแต่ไม่รวมถึงยา
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร
4. อุปนิสัยในการบริโภค (Food Habbit) ศึกษาการกินและความเคยชินในการบริโภค
5. ทุพโภชนาการ(Mulnutrition) เป็นสภาพร่างกายที่ขาดสารอาหาร หรืออาจเรียกว่าเป็นโรคที่เกิดจากการขาดสารอาหาร
6. สารอาหารหรือธาตุอาหาร(Nutrients) ได้แก่สารเคมีต่างๆที่มีอยู่ในอาหารที่คน รับประทานเข้าไป แบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ๆ คือ
6.1 Inorganic compounds ประกอบด้วยเกลือแร่และน้ำ
6.2 Organic compounds ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และวิตามิน
7. โภชนาการ(Nutritionist) คือบุคคลที่เรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โภชนศาสตร์แล้วนำเอาความรู้ไปให้การศึกษา อบรม และดำเนินการ ส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง
ประโยชน์ของอาหาร
1. ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
2. ทำให้มีการเจริญเติบโต
3. ช่วยบำรุงและกระตุ้นอวัยวะต่างๆให้ทำงาน
4. ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค บำรุงสุขภาพ
5. ช่วยในการสืบพันธุ์
6. ช่วยให้มีชีวิตยืนยาว
5.ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับแพทยศาสตร์
การพัฒนาเทคโนโลยีที่ไม่หยุดยั้งทั้งทางด้านเทคโนโลยีการประมวลผล ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ลาธารณสุขมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการจัดการบริหารงานของระบบโรงพยาบาลและสาธารณสุขจวบจนวันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่เพียงจำกัดแค่การให้บริการในวงการแพทย์ สาธารณสุข และโรงพยาบาลอีกต่อไป แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญทำให้ประชาชนและผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์สาธารณสุขรวมทั้งใช้บริการสาธารณสุขจากที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทาง

          เพียงแค่คลิกคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือแค่นอนพักผ่อนที่บ้าน คอมพิวเตอร์ที่อยู่รอบๆ ตัวคุณก็สามารถตรวจเช็คสุขภาพของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัวและสามารถส่งข้อมูลสุขภาพไปยังแพทย์เจ้าของไข้หรือตรวจโรคผ่านระบบออนไลน์สิ่งเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไปเมื่อบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอพพลิคเคชั่นต่างๆหันมาพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อตอบสนองชีวิตประจำวันของมนุษย์มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพทย์ทางไกลมาให้บริการผู้ป่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น